ยุทธศาสตร์ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2556 – 2558)
1. ยุทธศาสตร์คุณภาพการให้บริการ
พัฒนา/ยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านแรงงาน ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนในการขอรับบริการ
กิจกรรม :
(1) การทบทวนงานบริการ
(2) การปรับ/ทบทวน คำถาม-ถามบ่อย และองค์ความรู้ในระบบ e-Smart Box
(3) การปรับข้อมูลบนเว็บไซด์
(4) การจัดทำ/ทบทวน แผนยุทธศาสตร์ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(5) การจัดทำ/ปรับ คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(6) การจัดทำ/ทบทวน ตัวชี้วัดการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
(7) การย้าย/ปรับปรุงสถานที่ให้บริการ
(8) การพัฒนาระบบ e-Smart Box เพื่อให้บริการประชาชน ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
2. ยุทธศาสตร์การขยาย/เพิ่มศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
ส่งเสริม สนับสนุนการขยายเครือข่ายการให้บริการ เพื่อให้สามารถจัดตั้งศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน และนำบริการด้านแรงงานให้เข้าถึงประชาชนได้ในทุกพื้นที่ สามารถแก้ไขปัญหาด้านแรงงานได้อย่างแท้จริง
กิจกรรม :
(1) ขยายบริการโดยการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานให้ครบทุกจังหวัด
(2) ขยายบริการโดยการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานให้บริการโดยอาสาสมัครแรงงาน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร
การเสริมสร้าง และพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ ณ ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน เพื่อให้มีสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถก้าวหน้าทันสมัยต่อสถานการณ์ และมีบุคลิกภาพที่ดี อันจะส่งผลต่อความสำเร็จในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
กิจกรรม :
(1) การเพิ่มทักษะความรู้ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (ปีละ 1 ครั้ง)
(2) การให้ความรู้เพื่อพัฒนาการให้บริการ รองรับการเป็นประชาคมอาเซียน AEC
(3) การส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันความรู้ เช่น เรื่องเล่าชาวศูนย์, Face Book ชมรมเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการใหม่และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการเก่า เป็นต้น
4. ยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการเชิงรุก
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการเชิงรุกแบบบูรณาการ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการของกระทรวงแรงงาน
กิจกรรม :
(1) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์งานบริการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(2) ปรับปรุงบอร์ดประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สวยงามและเป็นปัจจุบัน
(3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการมีงานทำ (นำร่อง)
(4) การออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการแบบบูรณาการ
การบริหารจัดการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
1. การบริหารจัดการส่วนกลาง
– คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน โดยมีรองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่
(1) กำหนดกรอบ แนวทาง และวางแผนการดำเนินงานของศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(2) กำกับ ดูแล ติดตามและพัฒนากระบวนการทำงานของศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
(3) แต่งตั้งคณะทำงานได้ตามความจำเป็น
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมาย
– คณะทำงานพัฒนาศักยภาพการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน โดยมีผู้อำนวยการสำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่
(1) ทบทวนและพิจารณากำหนดกรอบ แนวทาง วางแผน และประสานการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(2) ติดตาม และพัฒนากระบวนงานของศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(3) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานมอบหมาย
2. การบริหารจัดการระดับจังหวัด
– คณะกรรมการกำกับ ดูแลและติดตามการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานระดับจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่
(1) บริหารจัดการ การดำเนินงานศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน ในระดับจังหวัด
(2) ทบทวนและพิจารณากำหนดกรอบ แนวทาง วางแผน และประสานการดำเนินการศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน
(3) ติดตาม และพัฒนาภารกิจการให้บริการของศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน