– อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร 331 บาท
– อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จังหวัดชลบุรี และภูเก็ต 336 บาท จังหวัดระยอง 335 บาท
– อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดอื่น ๆ ค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th เลือกรายการ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
สามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ชั้น 12 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ พร้อมเอกสารคนงานไทยที่ขาดการติดต่อหรือถูกจับกุม หรือสำนักงานแรงงานไทยประเทศ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เมืองฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลี บรูไน อิสราเอล ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) ไทเป สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง ที่แรงงานไทยไปทำงาน หากเป็นประเทศอื่น ๆ ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น ๆ โทรศัพท์ติดต่อสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ในวันและเวลาราชการ โทรศัพท์ 0 2232 1242
ก. คนงานต่างชาติที่พำนักในไต้หวันอย่างถูกกฎหมายไม่ครบ 183 วัน ใน 1 ปีภาษี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) จะต้องเสียภาษีเงินได้โดยไม่สามารถขอรับคืนได้ ดังนี้
– กรณีรายได้รวมต่อเดือนไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือไม่เกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน จะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 6 แต่จะไม่ได้รับยกเว้นและลดหย่อนค่าใช้จ่ายปีละ 303,000 เหรียญไต้หวัน
– กรณีรายได้รวมต่อเดือนเกิน 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือเกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน จะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 18 โดยไม่สามารถขอรับคืนได้
ข. คนงานต่างชาติที่พำนักในไต้หวัน ครบ 183 วัน ใน 1 ปีภาษี (1 มกราคม – 31 ธันวาคม) จะได้รับการลดหย่อนค่าใช้จ่ายปีละ 306,000 เหรียญไต้หวัน เงินได้สุทธิเกินจากนี้จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
ค. คนงานต่างชาติทุกรายที่จะเดินทางกลับประเทศต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ก่อนเดินทางกลับ ซึ่งหากเดือนใดมีรายได้ไม่เกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน ก็จะได้รับเงินคืนภาษีส่วนที่หักเกินไว้ในเดือนนั้นๆ หลังยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีประจำปี ในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปแล้ว ประมาณ 3-4 เดือน จึงจะได้รับคืนเงินภาษีส่วนที่จ่ายเกิน
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Income Tax) ในประเทศสิงคโปร์ ขึ้นอยู่กับรายได้ และจำนวนวันที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ มีหลักเกณฑ์การเสียภาษีสรุปได้ ดังนี้
1. น้อยกว่า 60 วัน ได้รับการยกเว้นภาษี
2. ระหว่าง 61 วัน ถึง 182 วัน เสียภาษี 15% ของรายได้ทั้งหมดไม่มีการหักค่าลดหย่อนใด ๆ
3. อย่างน้อย 183 วัน ใน 1 ปี เสียภาษีตามอัตราที่ประเทศสิงคโปร์กำหนด
4. อย่างน้อย 183 วัน ในระยะเวลา 2 ปี ติดต่อกัน(กรณีเข้าประเทศสิงคโปร์ นับจากวันที่ 1 มกราคม 2560) เสียภาษีตามอัตราที่ประเทศสิงคโปร์กำหนด
5. ติดต่อกัน 3 ปี เสียภาษีตามอัตราที่ประเทศสิงคโปร์กำหนด
กรณีที่นายจ้างหักภาษีเงินไว้เกินหรือได้ยื่นชำระไว้เกิน ลูกจ้างสามารถดำเนินการขอคืนภาษีได้ด้วยตนเอง โดยกรอกแบบคำร้องที่สำนักงานภาษีเขตที่อาศัยอยู่ พร้อมแนบเอกสารดังนี้
1. หลักฐานประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทาง หรือบัตรที่ออกโดยทางการญี่ปุ่น เช่น บัตรประกันสุขภาพ
2. บัตรประจำตัวผู้พำนัก (Zairyu Card)
3. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปี (Kyuyo Shotoku no Gensenchoushuhyou)
4. รายละเอียดของบัญชีธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินคืนภาษี
5. ตราประทับ (อิงคัง)
6. หลักฐานการขอหักลดหย่อนสมาชิกครอบครัวในอุปการะ
6.1 หลักฐานแสดงตนของสมาชิกครอบครัวในอุปการะ เช่น ใบเกิด ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน พร้อมคำแปลภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ
6.2 หลักฐานการส่งเงินไปประเทศไทยให้ครอบครัวในอุปการะภาษีเงินได้ที่ชำระไว้เกินจะได้รับคืนโดยการโอนผ่านเข้าธนาคารตามรายละเอียดที่ให้ไว้ในข้อ 4. ทั้งนี้ ใช้เวลาในการดำเนินการพิจารณาประมาณ 1 – 1 เดือนครึ่ง อนึ่ง การขอคืนภาษีเงินได้สามารถดำเนินการย้อนหลัง 5 ปีภาษี นับจากปีภาษีปัจจุบัน ส่วนภาษีท้องที่ไม่สามารถขอคืนได้
ลูกจ้างที่ประสงค์จะขอคืนภาษีต้องติดต่อที่กรมสรรพากรฮ่องกง ก่อนวันออกเดินทางจากฮ่องกง ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน พร้อมยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แบบฟอร์ม (IR 56 G) (นายจ้างดำเนินการให้)
2. ใบแจ้งการสิ้นสุดการจ้างงาน
3. ใบแจ้งการจ่ายค่าจ้างครั้งสุดท้ายและเอกสารประกอบกรณีขอลดหย่อนภาษี (ถ้ามี)
4. แจ้งจำนวนรายได้ในการขอคืนภาษีและจำนวนภาษีที่ชัดเจน
5. หนังสือมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นรับภาษีคืนแทน
6. แจ้งที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บุคคลที่ติดต่อได้ในต่างประเทศเพื่อการติดต่อขอรับภาษีคืน
ภายใต้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ค.ศ. 1967 (Income Tax Act 1967) ชาวมาเลเซียและแรงงานต่างชาติที่อาศัยและทำงานในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีรายได้ต่อปี 25,500 ริงกิต ขึ้นไป มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ โดยนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษีให้ลูกจ้าง และเป็นผู้หักเงินภาษีนำส่งสำนักงานภาษีแห่งชาติ (Malaysia Inland Revenue Board: MIRB) โดยทุกวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี ผู้ที่มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบฟอร์มภาษีรายได้ส่วนบุคคลให้กับทาง MIRB ซึ่งทาง MIRB ก็จะคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อไปคำนวณหักลดหย่อนภาษี ซึ่งถ้าแรงงานต่างชาติจ่ายภาษีไปมากกว่าที่ควรจะจ่าย แรงงานต่างชาติจะได้รับเงินภาษีคืนจากทาง MIRB
ประชาชนเกาหลีใต้และคนต่างชาติที่อยู่อาศัยและทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งมีรายได้ตั้งแต่ 795,000 วอนมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ภายใต้กฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยนายจ้างเป็นผู้หักเงินภาษีนำส่งสำนักงานภาษีแห่งชาติ (National Tax Service) ทั้งนี้ แรงงานไทย (EPS) ในสาธารณรัฐเกาหลี มีรายได้ (ค่าจ้างและล่าค่าล่วงเวลา) เฉลี่ยระหว่าง 858,990 วอน – 2,000,000 วอน นายจ้างจะหักรายได้นำส่งอัตรา ต่ำสุดเดือนละ 730 วอน และอัตราสูงสุด เดือนละ 22,120 วอน
ทั้งนี้ คนงานต่างชาติทุกคนที่ทำงานในสาธารณรัฐเกาหลี มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับคนท้องถิ่น อัตราภาษีเงินได้ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละบุคคล ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 860,000 วอน ไม่เสียภาษีรายได้ ผู้ที่มีรายได้ 1,000,000 วอน เสียภาษีรายได้เดือนละ 2,340 วอน และมีผู้มีรายได้ 1,200,000 วอน เสียภาษีรายได้เดือนละ 5,580 วอน โดยปกตินายจ้างเป็นหักภาษีแล้วนำส่ง ทั้งนี้ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิขอเงินภาษีคืน
ปัจจุบันประเทศอิสราเอลไม่มีการคืนเงินภาษีให้กับแรงงานต่างชาติแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากแรงงานไทยที่มีสิทธิยื่นขอคือภาษีจากทางการอิสราเอลได้ต้องเป็นแรงงานที่ทำงานในประเทศอิสราเอลเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – 2548 โดยต้องยื่นคำขอภายใน 6 ปี นับแต่ปีที่มีสิทธิขอคืนภาษีจากทางการอิสราเอล เช่น
– ผู้ที่ทำงานในปี 2546 ต้องยื่นขอคืนภาษีภายในปี พ.ศ. 2552
– ผู้ที่ทำงานในปี 2547 ต้องยื่นขอคืนภาษีภายในปี พ.ศ. 2553
– ผู้ที่ทำงานในปี 2548 ต้องยื่นขอคืนภาษีภายในปี พ.ศ. 2554
นั้นหมายความว่า ถ้าแรงงานไทยที่เคยทำงานในประเทศอิสราเอลในช่วงปี 2546 ถึง2548 และยังไม่เคยยื่นเรื่องเลย จะไม่มีสิทธิได้เงินภาษีคืน เนื่องจากได้สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นขอแล้ว นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่ของประเทศอิสราเอลได้กำหนดว่าตั้งแต่ 2549 เป็นต้นไป นายจ้างจะไม่มีการหักภาษีแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีการคืนภาษี
กรณีคนงานผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ จำแนกเป็น 2 กรณี
1. กรณีคนงานมีเฉพาะหนังสือเดินทาง
1.1 ให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแบบไม่มีบัตรประกันสังคม (โกซี่) โดยเขียนชื่อที่อยู่ตัวเองเป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง
1.2 ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่าย ลายมือชื่อของคนงาน และหน้าที่มีตราประทับ
วีซ่าเดินทางเข้าไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย
1.3 ส่งเอกสารตามข้อ 1.1 – 1.2 ไปที่สำนักงานประกันสังคมซาอุดีอาระเบียโดยตรง (ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน) ดังนี้
– GENERAL ORGANIZATION FOR SOCIAL INSURANCE (GOSI)
– OVERSEAS BENEFITS DEPARTMENT
– P.O.BOX 2952 RIYADH 11461
– KINGDOM OF SAUDI ARABIA
2. กรณีคนงานมีหนังสือเดินทางและบัตรประกันสังคม (โกซี่)
2.1 ให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแบบมีบัตรประกันสังคม (โกซี่) โดยเขียนชื่อ ที่อยู่ของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องชัดเจน
2.2 ให้กรอกเลขสมาชิกในบัตรประกันสังคมลงในแบบฟอร์มแบบมีบัตรฯโดยแปลเลขที่เป็นภาษาอาหรับให้เป็นเลขสากล (ดูการเปรียบเทียบตัวเลขอาหรับเป็นเลขสากล)
2.3 ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่าย ลายมือชื่อของคนงาน และหน้าที่มีตราประทับ
วีซ่าเดินทางเข้าไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบีย
2.4 ถ่ายสำเนาบัตรสมาชิกประกันสังคม (โกซี่)
2.5 ส่งเอกสารตามข้อ 2.1 – 2.4 ไปที่สำนักงานประกันสังคมซาอุดีอาระเบีย โดยตรง (ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน) ตามที่อยู่ในข้อ 1.4
การขอรับเงินประกันสังคม (โกซี่) คนงานต้องดำเนินการเองโดยไม่จำเป็นต้องผ่านนายหน้า และไม่เสียค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น
1. สำนักงานแรงงานในประเทศซาอุดิอารเบีย โทรศัพท์ +966 11 482 7977 และ +966 11 482 7689
2. ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โทรศัพท์ +971 2 5576833
3. สำนักแรงงานในประเทศญี่ปุ่น โทรศัพท์ (+81) 35442 7014-5
4. สำนักงานแรงงาน ณ เมืองฮ่องกง โทรศัพท์ +852-2530-2343 , +852-2845-0086 และ +852-2845-0961
5. สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) ไทเป โทรศัพท์ +8862-2701-1413
6. สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง โทรศัพท์ +8867-338-0052
7. สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซีย โทรศัพท์ (603) 2145-5868 และ (603) 2145-6004
8. สำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ โทรศัพท์ +65 6224 1797 และ +65 6690 4296
9. สำนักงานแรงงานในประเทศบรูไน สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน โทรศัพท์ +673 265 3517
10. ฝ่ายแรงงาน ประจำ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล โทรศัพท์ +972 9 9548431-3
11. ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล โทรศัพท์ +882-794-5222